เพื่อลดน้ำหนัก ให้ใกล้เคียงระดับน้ำหนักปกตินั้น ควรตั้งเป้าหมายที่เหมาะสมในการลดน้ำหนักให้เป็นไปอย่างช้าๆ
เช่น ลดน้ำหนักให้ได้ร้อยละ 5-10 ของน้ำหนักตัวตั้งต้นในช่วง 6 เดือน
โดยท่านควรปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง
และควรผสมผสานทั้งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
และการเพิ่มการใช้พลังงานผ่านการออกกำลังกาย ดังนี้
การควบคุมอาหาร
การลดน้ำหนักให้ได้ผลในระยะยาว คือ ควบคุมพลังงาน
ที่ได้รับจากอาหารที่บริโภคในแต่ละวันให้ได้น้อยกว่าพลังงานที่ใช้ออกไป
การทำให้ร่างกายขาดดุล พลังงานวันละ 500 กิโลแคลอรีเป็นเวลา 1 สัปดาห์
น้ำหนักจะลดลง 1/2 กิโลกรัม แบบแผนการลด น้ำหนักควรยืดหยุ่น
และจะต้องช่วยลดความหิวและอ่อนเพลียได้ สำหรับผู้หญิงควรได้รับพลังงานต่ำสุด
1,000-1,200 กิโลแคลอรีต่อวัน และสำหรับผู้ชายควรได้รับพลังงานต่ำสุดประมาณ
1,400-1,600 กิโลแคลอรีต่อวัน เพื่อป้องกันการขาดวิตามินและเกลือแร่
ตัวอย่างอาหารทำให้พลังงานประมาณ 1,200 กิโลแคลอรีต่อวัน
หมายเหตุ ข้อมูลจาก แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและดูแลรักษาโรคอ้วน
สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข
การปรุงอาหารที่ให้พลังงาน ไขมัน และน้ำตาลต่ำ
- ตัดไขมันที่เห็นบนเนื้อสัตว์ทิ้ง ดึงหนังไก่หรือหนังเป็ดทิ้ง
- ใช้วิธี ลวก นึ่ง อบ หลีกเลี่ยงวิธีทอดและผัด
- ใช้น้ำมันสเปรย์ลงบนกระทะ หรือใช้กระทะแบบที่ไม่ต้องใช้น้ำมันมาก
- ไม่เติมน้ำตาล หรือเครื่องปรุงหลายๆ ชนิดที่จะเพิ่มพลังงาน
- เก็บน้ำต้มกระดูกไว้ในตู้เย็นสักระยะหนึ่ง แล้วช้อนเอาไขมันที่อยู่ตอนบนออกก่อนนำมาปรุง อาหาร
- ประกอบอาหารที่มีพลังงานต่ำแทนอาหารพลังงานสูง เช่น แกงส้มแทนแกงเขียวหวาน
- ใช้เครื่องเทศเพิ่มกลิ่น
กด เพื่อดูตัวอย่างอาหารใน 1 สัปดาห์ ที่ช่วยลดน้ำหนัก
การเพิ่มกิจกรรมทางกายหรือการออกกำลังกาย
การออกกำลังที่เป็นประโยชน์ควรจะทำทุกวันอย่างน้อยวันละ 30 นาที แต่ใน
คนอ้วนควรจะออกกำลังกายให้ได้วันละ 60 นาที ความหนักของการออกกำลังกายลดน้ำหนักควรอยู่
ในระดับความหนักปานกลาง (moderate intensity) คือ ประมาณร้อยละ 60-65
ของอัตราชีพจรสูงสุดตามเกณฑ์อายุ (เท่ากับ 220 ลบ อายุ ในหน่วยปี) และทำให้ได้อย่างน้อย 3-5
ครั้งต่อสัปดาห์ หรือถ้าทำได้ทุกวันยิ่งดี ตัวอย่างเช่น หากการออกกำลังกายด้วยวิธีเดินเร็ว หรือ วิ่ง
(ทางราบ หรือ บนเครื่องลู่เดิน) ควรทำให้ได้ระยะทางประมาณ 5-6 กิโลเมตรต่อวัน
ซึ่งจะช่วยเผาผลาญพลังงานประมาณ 600-700 กิโลแคลอรี และทำต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน 12 สัปดาห์
หรืออาจอาศัยหลักการง่ายๆ ที่ว่า ถ้าต้องการจะลดน้ำหนัก 0.5 กิโลกรัม ในสัปดาห์
ต้องทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานเพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 3,500 กิโลแคลอรี โดยควรมีการกำหนดเป้าหมายดังนี้
ขั้นที่ 1 ตั้งเป้าเวลา หากจะลดน้ำหนัก 0.5 กิโลกรัมใน 1 สัปดาห์ ต้องออกกำลัง 500 กิโลแคลอรีต่อวัน
ขั้นที่ 2 ตั้งเป้าน้ำหนักที่จะลด แนะนำให้ตั้งเป้าหมายที่ไม่หนักเกินไปและเป็นไปได้ เช่น
หากจะลดน้ำหนัก 1 กิโลกรัมใน 1 สัปดาห์ ต้องออกกำลังกายหนักมาก (1,000 กิโลแคลอรีต่อวัน)
ทำให้ร่างกายทรุดโทรม ที่น่าจะเป็นไปได้คือ ตั้งเป้าลดน้ำหนัก 0.5 กิโลกรัมในเวลา 1 สัปดาห์ (เหลือ 500 กิโลแคลอรีต่อวัน)
ขั้นที่ 3 ตั้งเป้ากิจกรรมที่จะทำ สำหรับผู้เริ่มต้นออกกำลังกายลดน้ำหนัก ควรทำวันละ 300
กิโลแคลอรี ใน 3 ถึง 4 วันแรกๆ โดยเลือกกิจกรรมเบาๆ ที่เหมาะสม เช่น ผู้ที่มีน้ำหนักตัว 80 กิโลกรัม
จะลดน้ำหนัก 1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ (1,000 กิโลแคลอรีต่อวัน) หากเลือกที่จะเล่นโบว์ลิ่งนาน 1 ชม.
(ใช้พลังงานไป 259 กิโลแคลอรี) ซึ่งน่าเบื่อและไม่เหมาะสม (ต้องเล่นโบว์ลิ่งเกือบ 4 ชั่วโมง)
จึงจำเป็นต้องปรับ เช่น ให้ทำกิจกรรม 2-3 อย่างผสมผสานในแต่ละวัน เพื่อให้ได้จำนวนกิโลแคลอรีรวมตามที่ต้องการ
(1,000 กิโลแคลอรี) ตามตารางแสดงกิจกรรทางกายหรือออกกำลังกายตามน้ำหนักตัว ข้างล่างนี้
หมายเหตุ ข้อมูลจาก แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและดูแลรักษาโรคอ้วน
สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข
กด เพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและดูแลรักษาโรคอ้วน สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขน้ำหนัก
โดยทั่วไป ควรออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อย 5 วัน วันละอย่างน้อย 30-45 นาที
โดยเป็นการออกกำลังกายอย่างหนักปานกลาง เช่น การเดินเร็ว การปั่นจักรยาน
การตีแบดมินตัน หรือการเล่นฟุตบอล เป็นต้น
ส่วนการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพตามคำแนะนำง่ายๆ โดยรับประทานตามสัดส่วนของจาน
คือ ครึ่งหนึ่งของจานเป็นกลุ่มผักผลไม้ หนึ่งในสี่เป็นคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว ขนมปัง และ อีกหนึ่งในสี่เป็นโปรตีน
เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่วแดง และนมจืด เป็นต้น ดังรูป ด้านล่างนี้